คดีมรดก

คดีเกี่ยวกับมรดก

อาจเเบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักได้เเก่

1. ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก 

2. คดีมรดก

3. คดีจัดการมรดก

ความหมายของมรดก

มรดกคือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่างๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน รถยนต์ ห้องชุด สิทธิการเช่าซื้อ เว้นแต่ว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้จึงจะไม่เป็นมรดก (หนี้สินของผู้ตายก็ถือเป็นมรดกตกเเก่ทายาทด้วย) ส่วนเงินบำเหน็จ ตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์และเงินประกันชีวิตของผู้ตายไม่เป็นมรดก (ป.พ.พ. มาตรา 1600 )

เมื่อบุคคลใดตาย มรดกย่อมตกแก่ทายาท (ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง)

เเต่ว่าทายาทไม่ต้องรับผิดในหนี้สินนั้นเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน (ป.พ.พ. มาตรา 1601)

แต่!!หากผู้ตายได้ยกทรัพย์สินนั้น ให้ ทายาทคนอื่นหรือผู้อื่นไปตั้งแต่ก่อนถึงแก่ความตายแล้ว ทรัพย์สินนั้นย่อมไม่ใช่มรดกของผู้ตาย จึงไม่อาจตกทอดแก่ทายาท และผู้ตายไม่อาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินนั้นให้แก่ใครได้อีก ตัวอย่างเช่น

เจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยสมบูรณ์แล้วก่อนตาย ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541

การที่ ต. (ผู้ตาย) รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย

เจ้ามรดกทำพินัยกรรม ยกทรัพย์ส่วนที่ยกให้จำเลยไปก่อนตายแล้วอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2535

การที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใด โดยอ้างว่า เป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกนั้น มิใช่จะถือว่าทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรม เป็นของเจ้ามรดกเสมอไป ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็น ทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ยกทรัพย์ บางส่วนให้จำเลยทั้งสองก่อนตาย ทรัพย์ส่วนที่ยกให้ย่อมไม่เป็นของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองได้

ตัวอย่างทรัพย์สินที่เป็นมรดก

หน้าที่และความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมรดก 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2543

ผู้ตายทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแก่จำเลย เมื่อผู้ตาย ถึงแก่กรรมทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตกทอดแก่โจทก์ โจทก์จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ตาย เมื่อ ผู้ตายมีหน้าที่ต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่ดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ตาย สืบต่อไป

สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540

สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม

เจ้ามรดกครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้อื่นโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382 แล้วเป็นทรัพยสิทธิซึ่งเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538

จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วจ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599และ1600จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของจ.

หน้าที่และความรับผิดเนื่องจากเจ้ามรดกทำละเมิดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2537

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) มีชื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองในเบื้องต้นจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ม. มารดาจำเลยปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าผ่านที่พิพาทของโจทก์โดยโจทก์มิได้ยินยอมจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายจำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ม.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

เงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ที่บริษัทคิดให้ผู้ตาย 2.25 เท่าของเงินเดือนสุดท้ายต่ออายุงาน 1 ปี หากผู้ตายยังไม่ตายแล้วออกจากบริษัท บริษัทก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ผู้ตาย จึงเป็นมรดกของผู้ตาย มิใช่สินสมรส (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2537)

เงินสะสมที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยจะจ่ายคืนเมื่อออกจากราชการ จึงเป็นมรดกของราชการที่ถึงแก่ความตาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2515)

ความรับผิดของผู้จัดการมรดก จัดการมรดกโดยมิชอบเป็นความเสียหายทางทรัพย์สินเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2534)

ตัวอย่างทรัพย์สินที่ไม่ใช่มรดก

ทรัพย์สินที่ไม่ใช่มรดก เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ตัวอย่างเช่น

เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ไม่เป็นทรัพย์มรดก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545)

เงินชดเชย สิทธิในการได้รับเงินประกันชีวิตหลังจากผู้ประกันชีวิตถึงแก่ความตาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542)

ดอกผลของทรัพย์มรดก(ลูกสุกร)ที่เกิดภายหลังเจ้ามรดกตายไม่เป็นมรดก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2506)

สิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก ตัวอย่างเช่น

สิทธิการเช่า ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าตายไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้เช่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537)

สิทธิของคู่สมรสที่จะขอให้ลงชื่อร่วมในเอกสารตามมาตรา 1475 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2548)

การจัดการมรดก การร้องขอแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว หากตัวความตาย ทายาทไม่อาจจะรับมรดกความได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2519)

 

เป็นโจทก์ฟ้อง คดีเกี่ยวกับมรดก หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย

ต้องการยื่นคำร้อง ตั้งผู้จัดการมรดก คัดค้านคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

ทางสำนักงานของเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ปรึกษาทนายณัฐวุฒิ อักษร Tel. 098-8275510

ติดต่อทางไลน์ เเอดไลน์ -> Line ID : lawyer37 

 

Visitors: 64,438