บังคับคดี / Legal Execution

อะไรคือ "การบังคับคดี"  ก็คือ คดีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาล เพื่อเรียกให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หรือให้กระทำ หรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งหากศาล ตัดสินให้ฝ่ายใดชนะแล้วคู่ความฝ่ายที่แพ้ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง หรือตามคำ พิพากษาของศาลจึงต้องมีการบังคับให้ปฏิบัติตาม ซึ่งการที่จะบังคับดังกล่าวคู่ความที่ชนะคดีจะไปบังคับเองไม่ได้ แต่จะต้องกระทำ โดยขอให้เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดอำนาจ และหน้าที่ไว้ซึ่งก็คือ “เจ้าพนักงานบังคับคดี” โดยปัจจุบัน ก็คือ เจ้าพนักงานที่สังกัดกรมบังคับคดี



ประเภทของการบังคับคดี

ในการออกหมายบังคับคดี ปกติศาลจะระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดี ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจะกำหนดสภาพแห่งการบังคับคดีเพียงเท่าที่เปิดช่องให้กระทำ ทางศาล หรือ โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่น

1. การยึดทรัพย์

2. การอายัดทรัพย์สิน

3. การขายทอดตลาด

4. การบังคับขับไล่, รื้อถอน

5. อื่นๆ เช่น การห้ามชั่วคราว 

การยึดทรัพย์สิน

การยึดทรัพย์สิน คือ การเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ ในความดูแลรักษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ให้บรรลุผลตามคำ พิพากษาหรือคำ สั่งของศาลในการบังคับคดียึดทรัพย์ของ ลูกหนี้ตามคำ พิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเป็นผู้นำยึด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 298 

ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ได้แก่

1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา คือ คู่ความที่เป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำ พิพากษาของศาล

2. ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คือ คู่ความที่เป็นฝ่ายแพ้คดี ซึ่งถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วน กรณีนี้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้

3. เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้มีสิทธิขอให้บังคับ มี 3 ประเภท คือ

    3.1 ผู้รับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702

    3.2 ผู้ทรงบุริมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 คือ ผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการ      ที่จะได้รับชำ ระหนี้อันค้างชำ ระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น

    3.3 ผู้รับจำนำ บุคคลดังกล่าวไม่ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อขอรับชำระหนี้      ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้

4. เจ้าของรวม (ผู้ร้องขอกันส่วน) ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิอื่นๆ ซึ่งอาจต้อง ขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายในความหมายของมาตรา 322, 323 ในการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีบุคคลภายนอกเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ในการยึดทรัพย์นั้น ให้ยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้ามีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ ให้ยึดมาทั้งหมด หรือตามสภาพ หากไม่ยึดทั้งหมดจะทำให้เสื่อมราคา เพราะแม้แต่ในระหว่างผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกัน หากไม่สามารถตกลงในการ แบ่งแยกระหว่างกันเองได้ก็จะต้องขายทอดตลาดแล้วรับเป็นเงินแทน เจ้าของรวมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีชอบที่จะร้องขอเข้ามาในคดี เพื่อขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์สินในส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์หรือ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดในส่วนของเจ้าของรวมได้

5. ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ (ตาม ป.วิ.พ. 326) ผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ ได้แก่

    1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด

    2. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร

    3. กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10

การขอเฉลี่ยทรัพย์เกิดขึ้นได้โดยมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามากกว่าหนึ่งคดี และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งได้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดหรือ อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำ พิพากษาไว้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น จะยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำ พิพากษานั้นซ้ ำไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามยึดหรืออายัดซ้ ำอีก แม้ลูกหนี้ตามคำ พิพากษานั้นจะยังมีทรัพย์สินอื่นที่ไม่ได้ถูกยึด ถ้าทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่เพียงพอชำ ระหนี้ตาม คำ พิพากษาของเจ้าหนี้ ตามคำ พิพากษาอื่นแล้ว เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษานั้น ก็มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ กำ หนดระยะเวลาในการขอเฉลี่ยให้ผู้ร้องยื่นคำ ร้องต่อศาลที่ออกหมาย บังคับคดีในกรณียึดทรัพย์ ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นในครั้งนั้นๆ (ทรัพย์ชิ้นใดขายได้วันใดก็ต้องยื่น คำ ขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 15 วัน นับแต่วันขายได้ของทรัพย์ชิ้นนั้น ๆ) ในกรณีอายัดทรัพย์ให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด ในกรณียึดเงินให้ยื่นคำ ขอก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันยึด เมื่อศาลส่งสำเนาคำ ร้องเฉลี่ยทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดจ่ายเงินในคดีไว้ก่อนเพื่อรอฟังคำ วินิจฉัยชี้ขาดจากศาล

การงดการบังคับคดี

การบังคับคดีอาจชะงักลงได้หากเกิดกรณีต้องงดบังคับคดีไว้ก่อน โดยอาจ เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย เช่น ลูกหนี้ยื่นคำ ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลสั่ง ให้งด หรือเจ้าหนี้ไม่วางค่าใช้จ่าย และการงดการบังคับคดีอาจเกิดขึ้นได้ โดยการตกลงยินยอมระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้แจ้งเป็นหนังสือ ไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยลูกหนี้ยินยอมให้งดการบังคับคดีเป็นหนังสือเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียด้วย คือ ผู้ขอรับชำ ระหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้รับจำนอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ทั้งนี้ ตามมาตรา 289 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

การถอนการบังคับคดี(ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292)

ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาอาจตกลงถอนการบังคับคดีได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็อาจถอนการบังคับคดีได้ด้วยเหตุตามกฎหมาย และตามคำสั่งศาลซึ่งจะเกิดค่าธรรมเนียม คดีที่ฟ้องตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป

ค่าธรรมเนียมถอนการยึด

การยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน เสียค่าธรรมเนียมถอนในอัตราร้อยละ 2 บาทของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด

การยึดเงิน เสียค่าธรรมเนียมถอนในอัตราร้อยละ 1 บาท

สำหรับคดีใดที่ยังไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทก์ประสงค์จะถอนการบังคับคดี ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น

ยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

กรณียึดที่ดินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้จัดเตรียมเอกสารดำเนินการดังนี้

1. ต้นฉบับโฉนดที่ดิน, สัญญาจำ นอง (ถ้ามี) - ถ้าเป็นสำเนาต้องเป็นสำเนาที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน รับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย, ผู้ถือกรรมสิทธิ์, คู่สมรสของ จำเลย, ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี) ของโจทก์และจำเลย

4. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่จะยึดพร้อมสำเนา 1 ชุด

5. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึดและแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

6. เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ (ตามแบบที่กำ หนด) และวางเงิน ค่าใช้จ่ายสำ นวนละ 2,500 บาท 

กรณียึดห้องชุด ให้จัดเตรียมเอกสารและดำเนินการดังนี้

1. ต้นฉบับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด, สัญญาจำ นอง (ถ้ามี) - ถ้าเป็นสำเนาต้องเป็นสำเนาที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน รับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2. สำ เนาทะเบียนบ้านของจำเลย, ผู้ถือกรรมสิทธิ์, คู่สมรสของจำเลย, ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือนนับถึงวันยึด

3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี) ของโจทก์และจำเลย

4. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่จะยึดพร้อมสำเนา 1 ชุด

5. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึดและแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

6. หนังสือรับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

7. เขียนคำ ขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำ การ (ตามแบบที่กำ หนด) และวางเงิน ค่าใช้จ่ายสำ นวนละ 2,500 บาท

การอายัดทรัพย์สิน

การอายัดทรัพย์สิน เป็นวิธีการบังคับคดีรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่การบังคับกับทรัพย์สินที่มีอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้โดยตรง เป็นการบังคับกับสิทธิเรียกร้องเป็นเงิน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นการสั่งบุคคลภายนอกมิให้ชำระหนี้แก่ลูกหนี้ตามคำ พิพากษา แต่ให้ชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแทน เช่น อายัดเงินเดือน โบนัส ค่าทำโอที

วิธีการอายัดทรัพย์สิน คือ

1. มีหนังสือ (คำสั่ง) แจ้งไปยังบุคคลภายนอก ไม่ให้ชำระเงินแก่ลูกหนี้ตามคำ พิพากษาแต่ให้ชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

2. มีหนังสือ/หมาย (คำสั่ง) แจ้งการอายัดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบ และให้งดเว้นการจำหน่ายสิทธิเรียกร้องตั้งแต่ขณะที่ได้ส่งคำสั่งนั้นให้ (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 วรรคสอง)

สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่อายัดได้

1. เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่ายเพื่อตอบแทน การทำงานเป็นรายเดือน อายัดได้แต่ต้องคงเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

2. โบนัส อายัดร้อยละ 50

3. เงินที่ตอบแทนกรณีออกจากงานเงินส่วนที่ไม่ได้อายัดต้องคงเหลือไว้ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท

4. เงินตอบแทนจากการทำงานเป็นชั่วคราวอายัด ร้อยละ 30

5. เงินฝากในบัญชีสถาบันการเงิน

6. เงินปันผลหุ้น

7. ค่าเช่าทรัพย์สิน

8. ค่างวดงานตามสัญญาจ้างงาน

กรณีอายัดเงินเดือน เงินเดือน โบนัส และอื่นๆ

เอกสารในการขออายัด 

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขออายัดและส่งเอกสารดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของเจ้าหนี้

2. หนังสือมอบอำ นาจ (กรณีมอบให้ผู้อื่นดำ เนินการแทน)

3. หลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องหรือสำเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น

4. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ และบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน)

5. สำเนาคำฟ้องและสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยในชั้นฟ้อง

6. เอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด เช่น ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแถลงผลการชำ ระหนี้ วัน เดือน ปี ที่ได้รับชำ ระหนี้ภายนอก 

ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอลดการอายัดเงินเดือน ค่าจ้างได้ เเละต้องดำเนินการดังนี้

1. ยื่นคำร้องขอลดอายัด ระบุความจำเป็น อัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ขอลด

2. ส่งเอกสาร หนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานอื่นๆตามความจำเป็น

การสั่งลดอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

1. ลดอายัดเงินเดือน,ค่าจ้าง ลดได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนที่อายัดไว้เดิม

2. หากลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบกับคำสั่งจะดำเนินการอย่างไร

มีสิทธิร้องขอต่อศาล เพื่อขอให้กำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่

บุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด (ตามป.วิ.พ. มาตรา 321)

เมื่อได้รับหนังสือ / คำสั่งอายัด ต้องดำเนินการ ส่งเงินตามจำนวน และภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด กรณีส่งเงินไม่ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยด่วน

ข้อกำหนดระยะเวลาในการบังคับคดี

มาตรา 274 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำ พิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำ พิพากษา หรือ คำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความ หรือ บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดี ตามคำ พิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ ภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษา หรือ คำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น 

 

เป็นเจ้าหนี้ต้องการบังคับคดี หรือเป็นลูกหนี้ถูกบังคับคดี

สืบทรัพย์ ยึดอสังหาริมทรัพย์ ยึดสังหาริมทรัพย์ อายัดเงินเดือน

ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง ขอกันส่วน ขอเฉลี่ยทรัพย์

ทางสำนักงานของเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ปรึกษาทนายณัฐวุฒิ อักษร Tel. 098-8275510

ติดต่อทางไลน์ เเอดไลน์ -> Line ID : lawyer37 

 

Visitors: 64,438