คดียาเสพติด / Narcotics

คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

2. พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2549

3. พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519

4. พระราชกำหนด ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533

5. พระราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปราม ผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 (มีการริบทรัพย์สิน)

6. พระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545

7. พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550

ประเภทของยาเสพติด

ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพศ 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

(1) ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน (Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamines) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamines) หรือยาบ้า ยาไอซ์ เอ็กซ์ตาซี (Ecstasy) หรือยาอี ยาเลิฟ และแอลเอสดี (LSD) หรือ กระดาษเมา

(2) ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน (Morphine) โคคาอีน (Cocaine) หรือโคเคน ฝิ่นยา (Medicinal Opium)

(3) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(4) ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนดไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
 
(5) ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
 
ฐานความผิดสำคัญเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แก้ไขล่าสุดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560
 
อัตราโทษคดียาเสพติด
 
1. เสพยาเสพติด
  • ประเภท 1 มาตรา 57, 91 จำคุก 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 2 มาตรา 58, 91 จำคุก 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 5 กัญชา มาตรา 57, 92 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 5 พืชกระท่อม มาตรา 57, 92 วรรคสอง จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

2. มียาเสพติดไว้ในครอบครอง (ไม่เกินข้อสันนิษฐานเพื่อจำหน่าย เช่น ยาบ้าน้อยกว่า 15 เม็ด ยาไอซ์น้ำหนักสุทธิน้อยกว่า 1.5 กรัมหรือน้ำหนักสารบริสุทธิ์น้อยกว่า 375 มิลลิกรัม)

  • ประเภท 1 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 2 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 5 (กัญชาแห้งน้อยกว่า 10 กิโลกรัม) มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 5 (พืชกระท่อมน้อยกว่า 10 กิโลกรัม) มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคสอง จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

3. จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ หรือ มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

  • ประเภท 1 แต่หน่วยการใช้ นำ้หนักสุทธิหรือสารบริสุทธิ์ ไม่เกินข้อสันนิษฐาน, 66 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 80,000 บาท ถึง 300,000 บาท 
  • ประเภท 1 แต่ปริมาณสารบริสุทธิ์ เกินข้อสันนิษฐานแต่ไม่เกิน 20 กรัม, 66 วรรคสอง จำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 400,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท 
  • ประเภท 1 แต่ปริมาณสารบริสุทธิ์ เกิน 20 กรัม, 66 วรรคสาม จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต
  • ประเภท 2 ฝิ่น มอร์ฟีน หรือโคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 100 กรัม 17 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสาม จำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 2 ฝิ่น มอร์ฟีน หรือโคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม 17 วรรคสอง, 69 วรรคสาม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท
  • ประเภท 5 กัญชาแห้ง ไม่ถึง 10 กิโลกรัม มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 5 กัญชาแห้ง เกิน 10 กิโลกรัม มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคสอง จำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท 
  • ประเภท 5 พืชกระท่อมน้อยกว่า 10 กิโลกรัม มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคสาม จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประเภท 5 พืชกระท่อมตั้งแต่ 10 กิโลกรัม มาตรา 26 วรรคสอง, 76/1 วรรคสี่ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท 

 

4. ผลิต นำเข้า ส่งออก มีอัตราโทษสูง

 

5. เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า ยาไอซ์) แล้วขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์

พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 จำคุก 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ เพิ่มโทษอีกหนึ่งในสาม และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง

 

แนวทางต่อสู้คดียาเสพติด

1. ต่อสู้ว่ายาเสพติดของกลางไม่ใช่ของตน

  • มีผู้ต้องหาหลายคนในที่เกิดเหตุ เช่นในห้องพัก ในบ้าน
  • ไม่ได้พบของกลางที่ตัวผู้ต้องหา
  • เป็นเพียงร่วมเดินทางไปด้วยกัน
  • เป็นเพื่อน คนรัก หรือสามีภรรยา ไม่มีส่วนรู้เห็น
  • เป็นเพียงผู้รับจ้างส่งสินค้า

 

2. ต่อสู้ว่ามียาเสพติดของกลางไว้เพื่อเสพ ไม่ได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

  • ปริมาณยาเสพติดของกลางเกินข้อสันนิษฐานเพียงเล็กน้อย
  • ไม่มีการล่อซื้อ
  • ไม่มีพฤติการณ์จำหน่าย
  • มีประวัติเสพยาเสพติด หรือบำบัดรักษา
  • มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง รายได้สูง
  • ไม่มีภาชนะแบ่งบรรจุพร้อมจำหน่าย

 

3. ต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นผู้เสพยาเสพติด

  • ใช้ยาแก้ปวด
  • ไม่เคยมีประวัติเสพยาเสพติด
  • ไม่ไว้วางใจผลการตรวจปัสสาวะ เช่นภาชนะบรรจุ วิธีการตรวจ
  • วิธีการตรวจปัสสาวะอาจมิชอบ เช่น มีการเทผสมกันหลายคน
  • ไปตรวจปัสสาวะที่ โรงพยาบาลด้วยตนเอง

 

4. ต่อสู้ว่าเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว

  • กรณีโดนแจ้งข้อหาหลายกรรม เช่น จำหน่ายและครอบครองเพื่อจำหน่าย

 

5. ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 เพื่อขอให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด

  • ให้การซัดทอดจับผู้ต้องหารายอื่นได้
  • แจ้งข้อมูล(เกี่ยวกับตนเอง)พาไปค้นของกลางเพิ่ม
  • ให้ข้อมูล(ผู้อื่น)จนไปจับของกลางได้เพิ่ม
  • ได้ให้ข้อมูลผู้ต้องหารายใหญ่ชัดเจน จนศาลออกหมายจับไว้

 

ขั้นตอนการต่อสู้คดียาเสพติด

1. เริ่มต้นเตรียมคดี 

    ตรวจเอกสาร บันทึกการจับกุม คำร้องฝากขังต่อศาล

  • เหตุเกิดเมื่อ วันที่ เวลาใด
  • ใครเป็นผู้จับกุม และแจ้งข้อหาอะไร
  • มีใครอยู่ในเหตุการณ์บ้าง
  • การจับกุมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
  • ยาเสพติดชนิดใด จำนวนหน่วยการใช้ น้ำหนัก ปริมาณสารบริสุทธิ์
  • เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายหรือไม่
  • เหตุเกิดท้องที่ใด เจ้าพนักงานมีอำนาจสอบสวนหรือไม่
  • พบยาเสพติดที่ใด ที่ตัวจำเลยหรือไม่ อย่างไร
  • ของกลางมีอะไรบ้าง มีการยึดทรัพย์อื่นที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
  • มีการล่อซื้อ มีสายลับหรือไม่
  • ชั้นสอบสวนให้การว่าอย่างไร

บันทึกจับกุมสำคัญที่สุด เพราะเป็นการเริ่มต้นบันทึกรายละเอียดการกระทำความผิดหลังจากเกิดเหตุไม่นาน การตรวจสอบบันทึกจับกุมถือเป็นลายแทงเชื่อมต่อไปหาข้อพิรุธของคดี เพื่อการตั้งรูปคดีต่อสู้คดีต่อไป

 

2. ตรวจสอบข้อพิรุธในคดี

  • เรื่องสายลับ
  • วัน เวลา ที่จับกุม และวัน เวลา ที่ส่งพนักงานสอบสวน
  • ของกลางตรงกับบันทึกจับกุมหรือไม่
  • พฤติการณ์ในคดีเป็นอย่างไร อะไรที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น หากรู้ว่าจำเลยขายยาเสพติด เหตุใดจึงไม่ล่อซื้อให้ได้คาหนังคาเขา แต่กลับบุกเข้าจับกุมจำเลย
  • ความมีพิรุธของเอกสาร เช่น มีการแก้ไข มีการเว้นช่องว่าง ให้จำเลยลงชื่อไปก่อน
  • ลงบันทึกจับกุมว่าพบของกลางที่หนึ่ง แต่ตำรวจชุดจับกุมให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพบใกล้ตัวจำเลย
  • ลงชื่อบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง
  • ระบุว่าพบของกลางที่ตัวจำเลย แต่ไม่ระบุว่ามีลักษณะบรรจุห่อหุ้มอย่างไร อาจมีการกลั่นแกล้ง
  • เหตุใดส่งมอบยาเสพติดในสถานที่โล่งแจ้ง เวลากลางวัน ผิดวิสัยคนร้ายหรือไม่

 

3. สอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลย

  • ให้จำเลยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังอย่างละเอียด
  • สอบถามเหตุผลที่มาที่ไป ที่ไปอยู่ในเหตุการณ์
  • มีข้อมูลอะไร หรือพฤติการณ์ที่แตกต่างจากเอกสารที่ตำรวจบันทึกหรือถ่ายรูปไว้
  • เหตุใดจึงให้การอย่างนั้นในชั้นจับกุม หรือชั้นสอบสวน
  • สอบถามถึงผู้ที่จำเลยจะอ้างเป็นพยาน

 

4 ไปดุสถานที่เกิดเหตุ

  • ทำแผนที่สังเขป เพื่อเทียบกับของตำรวจ
  • ตรวจสอบจุดที่ตำรวจอ้างว่ามองเห็น การครอบครอง หรือการส่งมอบยาเสพติด
  • ตรวจสอบจุดบังสายตา ในเวลากลางวัน หรือแสงไฟในเวลากลางคืน

 

5 หาคำพิพากษาศาลฎีกาที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงมาเปรียบเทียบเพื่อเป็นแนวทาง

  • การรับฟังพยานหลักฐานที่ใกล้เคียงกับคดี
  • ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยกฟ้องในกรณีที่ใกล้เคียง

 

6 เตรียมคำถามค้านพยานโจทก์

การต่อสู้คดียาเสพติดให้ชนะนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย โดยเฉพาะจะทำอย่างไรให้ศาลชั้นต้นยกฟ้องในคดียาเสพติด เพราะจะต้องเจอกับคู่ต่อสู้ที่เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งเป็นผู้จับกุม เป็นผู้สืบสวน พนักงานสอบสวน ซึ่งเชี่ยวชาญในการในการตอบคำถามค้านเพราะจะต้องมาเบิกความเป็นพยานอยู่บ่อยๆ ทนายความจำเป็นต้องเตรียมคดีอย่างละเอียดรอบคอบ มีคำถามหลอก คำถามจริงเพื่อให้ได้คำตอบตามที่ต้องการ

  

ตกเป็นผู้ต้องหา หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย คดียาเสพติด

ทางสำนักงานของเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ปรึกษาทนายณัฐวุฒิ อักษร Tel. 098-8275510

ติดต่อทางไลน์ เเอดไลน์ -> Line ID : lawyer37 

Visitors: 62,899